Hack RC เพื่อเพิ่ม Level

ลองดูการ Hack Restaurant City เพื่อเพิ่ม level กันบ้างครับ ตอนนี้สูงสุดได้ถึง level 32

Hack RC For RC Tool 5.2

ออกมาใหม่แล้วครับสำหรับ Restaurant City Tool version 5.2 เพื่อแก้ไขฟังก์ชั่นเช่น เพิ่มพลังพนักงาน

Hack RC For RC Tool 5.1

ลอง Hack Restaurant City ใน Facebook ดูครับ เพื่ออะไรนะหรอ ก็เช่นเพิ่ม level พนักงานไม่เหนื่อย (พนังงานเพิ่มขึ้นแทนที่จะลดลง) พนักงานเสิร์ฟได้เร็ว

วันศุกร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2552

วิธีการ Hack Restaurant City สำหรับ RC Tool 5.1

เขียนโดย นรพล Naraphol (ยอด Yod) ที่ 11:09 0 ความคิดเห็น
** RC Tool 5.1 ใช้ไม่ได้แล้วครับ ตามไปดู วิธีการ Hack Restaurant City สำหรับ RC Tool 5.2 และการ Hack เพื่อเพิ่ม Level กันได้เลย **

ลอง Hack Restaurant City ใน Facebook ดูครับ เพื่ออะไรนะหรอ ตามนี้เลย
  1. เพิ่ม level
  2. พนักงานไม่เหนื่อย (พนังงานเพิ่มขึ้นแทนที่จะลดลง)
  3. พนักงานเสิร์ฟได้เร็ว
  4. ลูกค้าเข้า/ออกร้านอย่างเร็ว
  5. ลูกค้าไม่ต้องการห้องน้ำ
เตรียมโปรแกรมที่ต้องใช้
  1. Firefox 
  2. Flash Player 9 (ถ้ามี version 10 ต้องเอาออกก่อน)
  3. Cheat Engine 5.5
  4. Restaurant City Tool 5.1
ลงโปรแกรม
  1. ติดตั้ง Firefox (ใช้ IE ได้หรือเปล่า ไม่เคยลองครับ)
  2. ติดตั้ง Flash Player 9 ถ้าใครมี Version 10 เอาออกก่อนแล้วลง Version 9 แล้ว Restart เครื่อง
  3. ติดตั้ง Cheat Engine
  4. Upzip Restaurant City Tool
เริ่มต้นการ Hack
  1. เข้า Facebook ของเราแล้วก็เปิด Restarant City ให้พนักงานทำงานปกติ
  2. เปิด Cheat Engine กดตรงไอคอนรูปคอมพิวเตอร์ แล้วเลือก Firefox กด Open





  3. ที่ Cheat Engine ติ๊กที่ Hex, กำหนด Value Type เป็น 8 Bytes และ ติ๊ก Also scan read-only memory





  4. เปิด Restaurant City Tool เลือกไปที่ Tab Stamina





  5. นำเลข C85D89C33B28408B ในช่อง Hotkey ไปใส่ในช่อง Hex ของ Cheat Engine แล้วกด First Scan





  6. หลังจาก Scan เสร็จจะได้ Address และ Value (ช่องด้านซ้าย) ให้ทำการ double click ข้อมูลจะมาอยู่ในตารางด้านล่างให้นำเลข Address ไปกรอกในช่อง Address ของ Restaurant City Tool





  7. ทำเหมือนข้อ 5 โดยนำเลข C85D89C33B28408B ในช่อง Hotkey อีกช่อง ไปใส่ในช่อง Hex ของ Cheat Engine แล้วกด New Scan และตามด้วย First Scan  และทำเหมือนข้อ 6 นำค่าที่ได้ไปใส่ในช่อง Address Restaurant City Tool





  8. ที่ Restaurant City Tool เราจะได้ Address มาจนครบให้กด Get Code จะได้ Code ในช่องด้านล่าง




     
  9. ให้นำ code ไปใส่ใน Cheat Engine โดย Copy Code ทั้งหมดแล้วไปที่ตารางด้านล่างของ Cheat Engine กด Paste





  10. หลังจาก Paste แล้วจะได้รายการใหม่คือ Jackal's Worker HP++ ให้ติ๊กด้านหน้าได้เลย เป็นอันเสร็จ ;-)





  11. เปิดโปรแกรม Cheat Engine ค้างไว้นะครับ ส่วน Restaurant City Tool จะปิดเลยก็ได้ แล้วลองกลับไปดูที่ Restaurant City ใน Facebook จะพบว่าพลังงานของพนักงานเราจะเพิ่มเรื่อยๆจนเต็ม 100%





  12. ถ้าลองกลับไปดูที่ Restaurant City Tool จะพบว่ามีอีกหลาย Tab เพื่อ Hack อย่างอื่นเช่น พนักงานเดินเร็ว (Fast1) ก็ใช้ขั้นตอนเหมือนเดิมครับ
ลองดูกันนะครับ ขอให้สนุกกับ Restaurant City อย่าเล่นเพลิดจนลืมทำงานละ ;-)
http://www.facebook.com/naraphol

วันอาทิตย์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2552

การใช้ LDAP ร่วมกับ OLAT

เขียนโดย นรพล Naraphol (ยอด Yod) ที่ 16:10 0 ความคิดเห็น
การตรวจสอบชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านใน OLAT ทำได้ 3 วิธีคือ
  1. แบบปกติโดยใช้ OLAT component
  2. แบบ Shibboleth authentication
  3. แบบ LDAP authentication
จะขออธิบายถึงแบบที่สามนะครับคือการใช้ LDAP นะครับ โดยจะเป็นการใช้ Apache DS เป็น Server สำหรับข้อมูลเกียวกับพื้นฐาน LDAP และการติดตั้ง/ใช้งาน Apache DS ดูได้ตามนี้ดังนี้ครับ
  1. LDAP คืออะไร
  2. การติดตั้ง Apache DS
  3. การติดต่อกับ ApacheDS ด้วย Eclipse
Function ของ LDAP ใน OLAT
  1. import User ได้ที่ละหลายๆรายการจาก LDAP ในครั้งเดียว
  2. สร้าง User ใหม่ใน OLAT เมื่อ loging ครั้งแรก โดยนำข้อมูลมาจาก LDAP
  3. กำหนดให้ตรวจสอบ username และ password แบบ real time / offline ได้ โดยถ้าเป็นแบบ real time จะทำการตรวจสอบ username และ password ไปที่ LDAP ทุกครั้ง แต่แบบ offline จะตรวจสอบจาก username และ password ที่เก็บอยู่ใน OLAT
  4. สามารถกำหนดให้มี cache สำหรับเก็บ LDAP password ในกรณีที่ไม่สามารถติดต่อกับ LDAP ได้
  5. สามารถกำหนดให้นำรายชื่อจาก LDAP มาแทนด้วยรายชื่อเดิม
  6. สามารถ map attribute ของ LDAP ให้ตรงกับ user properties ของ OLAT
  7. สามารถกำหนดให้รองรับ multiple base หรือกลุ่มใน LDAP ได้หลายกลุ่ม
  8. รองรับ LDAP server ได้หลากหลายเช่น Apache DA, OpenLDAP, Microsoft Active Directory
  9. รองรับ SSL
การ setup LDAP ในไฟล์ build.properties
  1. ldap.enable=true
  2. ldap.ldapUrl=ldap://localhost:10389
    กำหนด url/port ของ LDAP server
  3. ldap.ldapSystemDN=uid=admin,ou=system
    กำหนด DN หรือ user ที่มีสิทธิ login เข้า LDAP server
  4. ldap.ldapSystemPW=secret
    กำหนด password ของ DN หรือ user ที่มีสิทธิ login เข้า LDAP server
  5. ldap.ldapBases=ou=users,ou=system
    กำหนด base ที่เก็บรายชื่อผู้ใช้ที่ต้องการนำเข้า OLAT
  6. ldap.cacheLDAPPwdAsOLATPwdOnLogin=true
    กำหนดให้ OLAT เก็บ password ของ LDAP แบบเข้ารหัสไว้ด้วยเพื่อใช้เวลาที่ไม่สามารถติดต่อกับ LDAP ได้ (ถ้ากำหนดให้เป็น true ต้องกำหนด password.change.allowed=false แต่ถุ้ากำหนดเป็น false ต้องแน่ใจว่า LDAP server online ตลอดเวลาระหว่างใช้ OLAT)
  7. ldap.convertExistingLocalUsersToLDAPUsers=true
    กำหนดให้ OLAT เปลี่ยน LDAP user ที่มีอยู่แล้วใน OLAT (แต่ยังไม่ได้ถูกกำหนดให้เป็น LDAP user) มาเป็น LDAP user (ถ้ากำหนดให้เป็น ture ไม่ควรจะมี user ชื่อ administrator อยู่ใน LDAP base)
  8. ldap.deleteRemovedLDAPUsersOnSync=true
    กำหนดให้ทำการลบผู้ใช้ใน OLAT (ที่ถูกสร้างผ่าน LDAP sync) เมื่อไม่พบผู้ใช้ใน LDAP โดยอัตโนมัติ
  9. ldap.deleteRemovedLDAPUsersPercentage=50
    กำหนดจำนวนเปอร์เซ็นของการลบผู้ใช้ (ldap.deleteRemovedLDAPUsersOnSync=true) ว่าถ้าจำนวนผู้ใช้ที่หาไม่พบใน LDAP server เกินจากจำนวนเปอร์เซ็นที่กำหนด ให้ถือว่าไม่ต้องทำการลบผู้ใช้เนื่องจากอาจเป็นข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นเมื่อ LDAP server ใช้งานไม่ได้ชั่วขณะ (กำหนด 0 = ไม่ทำการลบทุกกรณี / กำหนด 100 = ลบทุกกรณี)
  10. ldap.ldapSyncOnStartup=true
    กำหนดให้ทำการ Sync เพื่อสร้าง user โดยอัตโนมัติ (ถ้ากำหนดเป็น false ทำให้ user จะถูกสร้างเมื่อ login)
  11. ldap.ldapSyncCronSync=true
    กำหนดให้ใช้ CronTrigger ระบุตารางเวลาการ Sync
  12. ldap.ldapSyncCronSyncExpression=0 0 * * * ?
    ระบุตารางเวลาการ Sync เช่น ทุกๆ ชั่วโมง (วิธีการกำหนด CronTrigger)
  13. ldap.ldapUserObjectClass=person
    กำหนด user attribute ของ LDAP
  14. ldap.attributename.useridentifyer=uid
    กำหนดการ map username ของ OLAT กับ attribute ของ LDAP
  15. ldap.attributename.email=mail
    กำหนดการ map email ของ OLAT กับ attribute ของ LDAP
  16. ldap.attributename.firstName=givenName
    กำหนดการ map firstName ของ OLAT กับ attribute ของ LDAP
  17. ldap.attributename.lastName=sn
    กำหนดการ map lastName ของ OLAT กับ attribute ของ LDAP
  18. olatprovider.enable=false
    กำหนดไม่ให้ login ด้วย OLAT (ถ้าเป็น false ต้องกำหนด default.auth.provider = LDAP แต่ถ้าเป็น true จะสามารถสลับหน้า login ไปมาได้ โดยสามารถกำหนด default.auth.provider = OLAT หรือ LDAP เพื่อให้เริ่มเป็นหน้าแรก)
  19. default.auth.provider=OLAT
    กำหนดหน้าที่ใช้ login เริ่มต้น สามารถเปลียนได้ระหว่าง OLAT (local logins) / Shib (เมื่อใช้ Shibboleth) /LDAP (เมื่อใช้ LDAP)
  20. เมื่อแก้ไขทุกอย่างเสร็จก็ใช้คำสั่ง ant config-all
เริ่มใช้งานครั้งแรกกับ LDAP
  1. Start LDAP server
  2. เพิ่มรายการผู้ใช้ลงไปใน LDAP ที่ ou=users,ou=system (ต้องตรงกับที่กำหนดไว้ใน build.properties > ldap.ldapBases) ตามตัวอย่างจะมี admin,yod1498,yod2,yoda, it>yod1, marketing>yim
  3. Start Tomcat แล้ว OLAT จะ Sync ข้อมูล user โดยอัตโนมัติตามที่กำหนดไว้ใน build.properties > ldap.ldapSyncOnStartup=true ลองตรวจสอบข้อมูลผู้ใช้ได้โดย login ด้วย admin แล้วไปที่ User management > User search จะเห็นรายชื่อพร้อมด้วย Properties ทั้งหมด จาก LDAP ได้ถูก copy มาไว้ใน OLAT โดย user ที่ copy มาจะรวมถึงในโฟลเดอร์ย่อยด้วย (it>yod1, marketing>yim)
  4. ลอง login ด้วย user ที่เพิ่งถูก Sync มา หน้าจอจะขึ้นว่า OLAT login via LDAP แสดงว่าเรากำลังใช้ LDAP อยู่ (ถ้ากำหนด ldap.cacheLDAPPwdAsOLATPwdOnLogin=false ข้อมูล password จะถูกตรวจสอบไปที่ LDAP server โดยตรง)
  5. ถ้าได้ติดตั้งระบบ Chat เมื่อดูข้อมูล Users > User Summary ก็จะเห็นว่าข้อมูลผู้ใช้ได้ทำการ Sync มาที่ Openfire เช่นเดียวกัน
การ Sync ข้อมูลระหว่าง OLAT และ LDAP
  1. กำหนดแบบอัตโนมัติ ให้ Sync ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ใน build.properties
    ldap.ldapSyncOnStartup=true กำหนดให้ทำการ Sync เพื่อสร้าง user โดยอัตโนมัติ (ถ้ากำหนดเป็น false ทำให้ user จะถูกสร้างเมื่อ login)
    ldap.ldapSyncCronSync=true กำหนดให้ใช้ CronTrigger ระบุตารางเวลาการ Sync
    ldap.ldapSyncCronSyncExpression=0 0 * * * ? ระบุตารางเวลาการ Sync เช่น ทุกๆ ชั่วโมง (วิธีการกำหนด CronTrigger)
  2. กำหนดแบบ manual ให้ลบข้อมูลผู้ที่ไม่มีใน LDAP ออกจาก OLAT และ sync รายชื่อผู้ใช้ ที่ Administration > LDAP
การแก้ไขข้อมูล Attribute ในการ Sync
ในไฟล์ build.propreties > ldap.attributename สามารถกำหนด attribute สำหรับการ Sync ได้เพียง 4 ตัวเท่านั้นคือ useridentifyer, email, firstName, lastName และยังไม่สามารถกำหนด attribute ที่จำเป็น (required) ในการ Sync โดยถ้าต้องการปรับเปลี่ยนข้อมูลเหล่าสามารถทำได้ที่ WEB-INF/src/serviceconfig/org/olat/ldap/_spring/olatextconfig.xml
  1. property name="reqAttrs" กำหนด attribute ที่จำเป็น (required) ในการ Sync เช่น กำหนดให้ต้องมี useridentifyer และ email
    entry key='${ldap.attributename.useridentifyer}' value='userID'
    entry key='${ldap.attributename.email}' value='email'
  2. property name="staticUserProperties" กำหนดค่าเริ่มต้นให้กับ attribute ที่ต้องการ เช่นกำหนดให้ institutionalName มีค่าเป็น MyInstitution
    entry key='institutionalName' value='MyInstitution'
  3. property name="userAttributeMapper" กำหนด attribute สำหรับการ Sync เช่นกำหนดให้ Sync ข้อมูล useridentifyer, email, firstName, lastName, employeeType, businessCategory
    entry key='${ldap.attributename.useridentifyer}' value='userID'
    entry key='${ldap.attributename.email}' value='email
    entry key='${ldap.attributename.firstName}' value='firstName'
    entry key='${ldap.attributename.lastName}' value='lastName'
    entry key='employeeType' value='orgUnit'
    entry key='businessCategory' value='institutionalName'

    ตัวอย่างกำหนด Attribute ในการ Sync ข้อมูลจาก LDAP
    ไปยัง OLAT
การกำหนดรูปแบบการ Login
การใช้ LDAP สามารถกำหนดรูปแบบการ Login ได้ 3 แบบ โดยกำหนดได้จาก build.properties > olatprovider.enable และ default.auth.provider
  1. กำหนดให้ Login ด้วย LDAP เท่านั้น (olatprovider.enable=false และ default.auth.provider=LDAP)
  2. กำหนดให้ Login ได้ทั้ง LDAP และ OLAT โดยเริ่มจากหน้า OLAT แล้วสามารถปรับไปเป็นหน้า LDAP ได้ (olatprovider.enable=true และ default.auth.provider=OLAT)
  3. กำหนดให้ Login ได้ทั้ง LDAP และ OLAT โดยเริ่มจากหน้า LDAP แล้วสามารถปรับไปเป็นหน้า OLAT ได้ (olatprovider.enable=true และ default.auth.provider=LDAP)

การใช้ Exodus เป็น Chat Client ใน OLAT

เขียนโดย นรพล Naraphol (ยอด Yod) ที่ 14:31 0 ความคิดเห็น
ระบบสนทนาของ OLAT นั้นอาศัย Chat Server ซึ่งก็คือ Openfire ทำหน้าที่จัดการระบบสนทนาทั้งหมด โดย OLAT จะมีหน้าที่เปรียบเสมือน Client ตัวหนึ่งที่ส่งข้อมูลไปยัง Openfire โดยใช้ Client library ที่เรียกว่า SMACK ซึ่งรูปแบบการสนทนาด้วย OLAT จะเป็นไปโดยผ่านหน้า browser ดังรูปด้านล่าง
แต่การใช้ระบบสนทนาใน OLAT ไม่ได้ถูกจำกัดเพียงบน Browser เท่านั้น เรายังสามารถใช้โปรแกรมประเภทสนทนาอื่นๆแทน Browser ได้ด้วยโดยไม่จำเป็นต้อง login เข้าระบบ OLAT ก่อน

เนื่องด้วย Openfire จะทำการ Sync ข้อมูลผู้ใช้และกลุ่มเรียนอยู่จาก OLAT มาเก็บไว้ในฐานข้อมูลของตนเอง และยังรองรับ Jabber Client ได้หลากหลาย (OLAT ก็ถือว่าเป็น Client ตัวหนึ่ง) จึงทำให้เราสามารถใช้โปรแกรมเช่น Exodus, PSI, Kopete (ดูทั้งหมดที่นี้) เป็น Chat Client เพื่อทำการสนทนากับผู้ใช้อื่นๆแทน Browser ได้เช่นกัน

การติดตั้ง Exodus
โปรแกรม Jabber Client มีหลายตัวอย่างที่ยกตัวอย่างไปแล้ว แต่จะขอนำโปรแกรม Exodus เป็นตัวอย่างการติดตั้งและใช้งาน
  1. download Exodus ได้จาก code.google.com หรือ jabberstudio.org
  2. ดูข้อมูล username และ รหัสจาก OLAT (Home > Settings > Instant Messaging > User name / Password) เพื่อทำไปกรอกใน Exodus
  3. set up user ใน Exodus ดังนี้
    Account Details > Jabber ID / password ให้ใส่ username / password ที่ได้จาก OLAT (Home > Settings > Instant Messaging > User name / Password)
    Connection > host:localhost / port:5222

  4. ทำการ login จะเห็นกลุ่ม/รายชื่อผู้ใช้ใน OLAT โดยสามารถสนทนากับผู้ใช้ที่กำลัง online โดยผ่าน Browser ได้

วันอังคารที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2552

วิธีการ setup email ให้ OLAT

เขียนโดย นรพล Naraphol (ยอด Yod) ที่ 11:33 0 ความคิดเห็น
จากที่เคยคุยกันถึงเรื่องการปรับแต่ง OLAT มาแล้วสองตอนคือ การปรับแต่งแบบเบื้องต้น และแบบละเอียด ความนี้ลองมาดูการ setup ระบบ email ใน OLAT บ้างซึ่ง OLAT ใช้อีเมล์ในหลายกรณีด้วยกัน เช่น การแจ้งเตือนไปยัง admin เมื่อมีการลงทะเบียนใหม่เพื่อทำการ approve หรือการแจ้งเตือนไปยังผู้ใช้เมื่อเวปบอร์ดมีการโฟสข้อความใหม่ โดยระบบ email ใน OLAT นั้นจะมีวิธีการติดตั้งดังนี้

setup tomcat
ก่อนการติดตั้งอีเมล์ให้ OLAT ต้องมีการ setup tomcat เพื่อให้สามารถส่งอีเมล์ได้ก่อนตามขั้นตอนดังนี้
  1. download javaMail และ JavaBeans Activation Framework(JAF) ก่อน
  2. unzip javaMail และ JAF
  3. copy mail.jar และ activation.jar จาก javaMail และ JAF ไปไว้ใน lib ของ Tomcat
setup build.properties
ข้อมูลที่เกียวข้อง
กับการ setup email มีดังนี้
  1. registration.enableSelfRegistration=true กำหนดให้สามารถลงทะเบียนได้
  2. registration.enableNotificationEmail=true กำหนดให้แจ้งเตือนไปยังอีเมล์ เมื่อมีการสมัครสมาชิกใหม่
  3. registration.notificationEmail=naraphol@naraphol.com กำหนดอีเมล์ที่ต้องการให้แจ้งเตือน เมื่อมีการสมัครสมาชิกใหม่
  4. adminemail=naraphol@imi.co.th อีเมล์ของผู้ดูและระบบซึ่่งจะปรากฏอยู่ในส่วนผู้ส่งในอีเมล์
  5. supportemail=naraphol@naraphol.com
  6. smtp.host=classic.asianet.co.th กำหนด mail server ที่ใช้ในการส่งเมล์
  7. smtp.user=naraphol@naraphol.com กำหนด username ที่ใช้ในการส่งเมล์
  8. smtp.pwd=xxxxx กำหนด password ที่ใช้ในการส่งเมล์
  9. ใช้คำสั่ง ant config-all
  10. restart server
ลองทดสอบการส่งอีเมล์ในขั้นตอนการลงทะเบียน
  1. เริ่มลงทะเบียนใหม่ ระบบจะทำการส่งอีเมล์จาก smtp ที่เราได้ตั้งค่าไว้
  2. ผู้ใช้ได้รับอีเมล์ โดยจะเห็นได้ว่าส่งมาจาก email address ที่เราได้ตั้งไว้ใน adminemail
 

naraphol.blogspot.com Copyright 2009 Reflection Designed by Ipiet Templates Image by Tadpole's Notez